---------A v E ศึกกลองจริงปะทะกลองไฟฟ้า

         กลองจริง ( Acoustic Drum ) กับ กลองไฟฟ้า ( Electric Drum ) จะเลือกอันไหนดี เป็นคำถามที่ถามกันมาตลอด สำหรับคนฝึกกลอง เรามาดูจุดเด่นของแต่ละ ตัวกันเลยดีกว่า



Acoustic Drum 
                           
   ข้อดีในการใช้ Acoustic Drum ซ้อม
1. ได้ใช้น้ำหนักที่แท้จริงในการตี
2. การฝึก Dynamic ระดับเสียงจะออกมาตามน้ำหนักผู้ตี
3. การปรับหนังกลองจะมีผมต่อการเด่งกลับของไม้กลอง
4. การตีขอบกลองไม่ว่าจะเป็น Rim Shot หรือ Cross Shot จะมีเสียงจากเนื้อไม้ของกลอง
5. หนัง Bass Drum จะมีผลต่อกระเดื่องมาก เช่นการเล่น Metal จะปรับให้ตึงมากขึ้น
6. สามารถจูนเสียงตาม Style ที่จะเล่นได้
7. สามารถเปลี่ยนหนังกลองให้เข้ากับ Style ที่เล่นได้
8. ฉาบมีให้เลือกหลากหลาย Design สามารถจัด Set-Up เท่ๆ ได้ตามต้องการ หรือตาม Style ที่เล่น
9. การตีฉาบและจับฉาบ ทำได้หลายรูปแบบ เพื่อสร้าง Sound ใหม่ๆ

Electric Drum
   ข้อดีในการใช้ Electric Drum ซ้อม
1. เป็นส่วนตัว ไม่รบกวนผู้อื่น
2. มี Function ที่ช่วยในการฝึก เช่นการฝึกให้ตีตรงจังหวะ ถ้าตีไม่ตรงเสียงจะไม่ออก
3. มี Backing Track หลายแนวเพลงให้เล่นตาม
4. เมื่อต้องการเปิดเพลงเล่นไม่จำเป็นต้องมีเครื่องเสียง สามารถเสียบผ่านช่อง AUX ได้เลย
5. สามารถปรับเสียงเพลงที่เล่นหรือเสียงกลองที่ดีให้พอดีกันได้ ไม่ต้องเปิดเพลงดังตลอด
6. ความเด่งของหนังกลองจะคงที่ ไม่มีหย่อน ทำให้การซ้อมมีความเสถียร ( ยกเว้นหนังมุ้ง )
7. สามารถบันทึกสิ่งที่ตัวเองเล่น เพื่อนำมาแก้ไขจุดอ่อน
8. สามารถอัด Line กลองเพื่อทำ Demo เพลงได้ 
9. มีเสียงกลองและฉาบให้เลือกหลากหลาย และยังสามารถต่อกับ Com แล้วดึงเสียงที่ Save มาใช้ได้เอง

         สรุปแล้วอยู่ที่การใช้งานและความจำเป็นของแต่ละคนนะครับ หากใครที่ทางบ้านเสียงดังไม่ได้     ก็ต้องใช้กลองไฟฟ้า หรือจะแก้ปัญหาโดยการทำห้องเก็บเสียงก็ได้นะครับ ส่วนใครที่ต้องการความสะดวกสบาย หรือจำเป็นต้องอัดกลองบ่อยๆ ก็ใช้กลองไฟฟ้าได้ จะประหยัดต้นทุนค่าห้องและไมค์ได้เยอะมาก 

                                  

         สำหรับผู้เริ่มต้นความใช้กลองจริงนะครับ เพราะจะได้ใช้น้ำหนักจริง และรู้ถึงการเด่งของหนัง ก่อนที่จะไปเล่นกลองไฟฟ้า ที่ผมพบในคนที่เริ่มต้นฝึกจากกลองไฟฟ้าจะมีปัญหาในการเลือกนำหนักในการตีไม่ถูกต้อง จนติดเป็นนิสัย ซึ่งในอนาคตจะแก้ยากมาก ยังไงถ้าเป็นไปได้ก็มี 2 แบบเลยก็ดีนะครับ         เพราะจริงๆ กลองไฟฟ้าก็มี Function ต่างๆ ที่ช่วยให้เราเล่นตรงจังหวะ อีกทั้งยังสะดวก จะซ้อมลูกส่งอะไรก็เป็น Backing Track ได้เลย เลือก Tempo ได้เลย ถ้ากลองจริงต้องไปหามาก่อน เสียงกลองเอาออกได้ไม่ได้ ยังไงก็ตามก็อยู่ที่ผู้ฝึกนะครับ ดีทั่งคู่ครับ ถ้าต้องเริ่มจากกลองไฟฟ้าก็ควรออกไปหาห้องซ้อมเพื่อซ้อมกลอง Acoustic ด้วยนะครับ 

  



----- อยากเล่น Latin ต้องเลือกข้าง

 


   ก่อนที่เราจะเล่น Latin นั้น เราควรรู้ก่อนว่าหลักๆ Latin จะแบ่งเป็น 2 สายใหญ่ๆ คือ
1. Afro-Cuban
2. Brazilian

  ซึ่งทั้งสองสายนี้ มีความแตกต่างกันมาก ใน Technique ต่างๆ แบบฝึกจะต่างกัน เลือกฝึกสายใดสายหนึ่งก่อน มาดูว่ากัน 2 สายนี้ต่างกันยังไงก่อน

Afro-Cuban
   1. Afro-Cuban เป็นดนตรีจาก แอฟริกา เราจะคุ้นเคยกับจังหวะที่เรียกว่า Songo แต่จริงๆ สาย Afro-Cuban นั้นมีจังหวะมากมาย ทั้งซับซ้อนมากกว่าและน้อยกว่า Songo อยู่มากไม่ว่าจะเป็น Mambo Mozambique Rumba Bolero หรือ Cha Cha อีกทั้ง Afro 6/8 ที่เรานิยมใช้ Double Paradiddle ในการเล่น

   การเล่นสาย Afro-Cuban นั้น เราต้องมี Skill พวก Paradiddle และ Linear ต่างๆ ให้ครบ อีกทั้งการเล่นมือซ้ายนำก็มีความสำคัญเช่นกัน ซึ่งหลักการฝึก Basic ของแนวนี้ คือการตี Cascara มันคือ Triple Paradiddle แบบนึงนั่นเอง อีกทั้งการเล่น Bass Drum จะมี Pattern ทั้งหมด 5 แบบ ส่วนมือซ้ายจะ Free เอาไว้ Comping หรือใช้ลูกเล่นของ Songo ก็ได้ ส่วนใหญ่ฝึกแรกๆ จะใช้ Clave ที่มือซ้าย สายนี้เวลาเล่นออกมาจะรู้สึกเหมือนเราวาดรูปวงรี ถ้าได้ความรู้สึกนั้นแสดงว่าเราเล่นออกมาได้ Groove แล้ว
Brazilian
   2. ฺBrazilian เป็นดนตรีจากประเทศ บราซิล เราจะคุ้นเคยกับจังหวะ Samba และ Bossa Nova ซึ่ง Bossa Nove ก็จะแยกแบบฝึกออกไปที่เน้น Time-Signature แปลกๆ เช่น 5/4 , 7/4 เป็นต้น ( Odd Time-Signature )

   ส่วน Samba ก็จะแยกออกไปเป็น Samba Cruzado , Street Samba , Samba de Partido Alto เป็นต้น การฝึกสายนี้มือกลองจะใช้ Bass Drum เยอะมาก เพราะเราจะเหยียบวนเป็น Loop อยู่ตลอดเวลาหรือที่เรียกว่า Ostinato นั่นเอง ส่วนมือซ้ายจะเป็นการ Comping หรือการเล่นสองมือที่ Snare แล้ว Accent ตาม Clave หรือตามที่ชอบได้เลย การเล่นสาย Brazilian จะเหมือนการวาดรูปวงกลม ถ้าเล่นแล้วได้ความรู้สึกนี้แสดงว่าเข้าถึง Groove นี้แล้ว


ความแตกต่างในการฝึก Afro-Cuban กับ Brazilian
   Afro-Cuban
1. ต้องเล่น Paradiddle เป็นทุกแบบทั้ง Inward Outward หรือ Reverse ควรฝึกซ้ายนำเป็นด้วย
2. ควรเล่นจังหวะ Funk เป็นในขั้น Advance แล้ว เพราะ Bass Drum มี 5 แบบ ซึ่งจะคล้ายๆ จังหวะ Funk
3. มือซ้ายควรผ่านการฝึก Ghost มาอย่างดีในทุกรูปแบบ
4. Afro-Cuban มือขวาจะเป็นตัวกำหนดแนวเพลงในสายนี้ ( ยากมากๆ )
5. ควรมีการฝึก Linear ที่เป็นแบบ Linear Groove มาก่อน

   Brazilian
1. ผ่านการฝึกตี Accent 16th Note มาครบทุกแบบ และสามารถ Free ตัวเองได้
2. มือซ้ายควรผ่านการฝึก Ghost มาอย่างดีในทุกรูปแบบ
3. เทคนิคการเบิลกระเดื่องต้องเนียน และสามารถเล่นได้นาน ใน Tempo ที่เร็ว
4. Pattern Bass Drum จะมี 1-2 แบบเท่านั้น และไม่ซับซ้อน แต่เมื่อยมาก
5. ควรฝึก Ostinato บน Subdivision ทุกรูปแบบมาก่อน เวลา Fill-in ส่วนใหญ่เท้าขวาและซ้ายจะไม่หยุด

   อันนี้คร่าวๆ นะครับ ถ้าเขียนเจาะลึกต้องแยกเป็นอันๆ เลย เขียนกันยาวแน่ๆ ยังไงติดตาม Note ได้ใน Page Facebook : Drum Coach

          ที่สำคัญหัวใจหลักของ Latin คือ Clave ถึงจะไม่ได้เล่นออกมาเต็มๆ แต่ก็ต้องอยู่ในใจเสมอ

                       



-------- 2B 5A 5B 7A บนไม้กลองมันคืออะไร

         เราจะพูดถึงไม้กลอง Size มาตรฐานนะครับ ตัวเลขคือเส้นรอบวง

               เลขน้อย = ใหญ่
               เลขมาก = เล็ก

                                 

         ส่วนต่อมาคือ ตัวอักษร A B มันมีความหมายลึกซึ้งมาก ไม่เคยรู้กันใช่มั้ย

  "A" ย่อมาจาก orchestra ไม้ชนิดนี้จะใช้ในวง orchestra และเป็นไม้ที่มีขนาดเล็ก ไม้ "A" จะมี 7A 5A อย่างไรก็ตามไม้ประเภทนี้ยังนิยมมากสำหรับมือกลอง Jazz  โดยเฉพาะ 7A ที่มีขนาดเล็กที่สุด จะนิยมในหมู่มือกลอง Jazz ที่เล่น Standard Jazz เพราะทำให้ลดความดังจากการตีได้

                                

"B" ย่อมาจาก Band หรือวงดนตรี นิยมใช้ในวง Brass Band ที่มีเสียงดัง ไม้ประเภทนี้จึงออกแบบมาให้มีความใหญ่ เพื่อเวลาตีจะได้มีเสียงดังสู้กับเรื่องอื่นๆ ในวงได้ และเป็นที่นิยมในมือกลองสาย Rock มาก

                                

         สรุปดังนี้

ใหญ่สุด 2B
ต่อมา     5B
ต่อมา     5A
เล็กสุด    7A

         สำหรับผู้ที่เริ่มต้นฝึกกลองหรือคุณครูที่จะแนะนำให้นักเรียนใช้ไม้กลองนะครับ ผมแนะนำให้เริ่มจากใช้ 2B เนื่องจากเป็นไม้ที่มีขนาดใหญ่ ทำให้จับง่าย และการเด่งกลับของไม้จะดีกว่าไม้ Size อื่นๆ อีกทั้งเป็นไม้ที่มีน้ำหนักมาก จะช่วยเรื่องของกล้ามเนื้อและข้อมือให้มีความแข็งแรงได้อีกด้วย

         คนที่สร้างตัวเลขและตัวอักษรบนไม้กลองคือ ผู้ก่อตั้งกลอง Ludwig ( William f. Ludwig )

                                       


-------- ซ้อมวันละ 8 ชม. แต่ทำไมไม่เก่งซักที

         เคยเป็นมั้ยซ้อมเยอะมากแต่ไม่เก่งขึ้นเลย อ่านแล้วคงรู้สึกแปลกสินะ ปกติซ้อมเยอะๆ แล้วจะเก่งนิ มีด้วยหรอแบบนี้ มีครับ


                              


         ลองตอบตัวเองดูสิว่าซ้อมอะไรอยู่ ตอบแบบไม่ต้องคิดกันหรือเปล่า เพราะถ้าคิดแสดงว่ายังไม่ได้ซ้อม การซ้อมที่ดีต้องมีการวางแผน

                                    


         ผมพูดถึงการวางแผนระยะยาวเลยนะ รายเดือน รายปี สงสัยใช่มั้ยว่ามันต้องขนาดนั้นเลยหรอ ใช่ครับ จะลองทำดูก็ไม่เสียหายอะไรนิ


  


         มาเริ่มกันเลยนะ

1. อยากได้อะไร  Jazz / Latin / Metal / Funk / Progressive Rock  ( เอาซักแนวก่อน )

2. เช็คตารางตัวเองว่าว่างซ้อมตอนไหน วันไหน กี่ ชม. ( ควรเกินวันละ 1 ชม. )

3. พอได้แล้วก็มาดูว่าแต่ละแนวมีหลักยังไง  เช่น Jazz = Triplet,Rudiment,Comping / Metal = 16th Note,Double Bass Drum,Blast Beat เป็นต้น

4. นำ Subdivision มาฝึกเป็น Warm-Up เช่น Metal ให้เน้น Warm-Up 16th Note กับ Double Pedal

5. ซ้อม Technique ล้ำๆ Metal ต้องซ้อม Flat-Foot Technique เพื่อจะเล่น Double Pedal หรือกระเดื่องคู่ให้ได้ Speed สูงกว่า 200 Bpm ขึ้นไป อย่าฝืนฝึก Technique เดิมเพื่อให้มันเร็วขึ้น เพราะแต่ละ Technique จะมีจุดอ่อนและจุดแข็งของมันอยู่  เดี๋ยวมาว่ากันเรื่องนี้ที่หลัง

6. หาเพลงที่อยู่ใน Skill ของเราแล้วแกะซะ ต้องเป็นแนวเดียวกันที่เราฝึกด้วยนะ

7. จัดเวลาลงให้แต่ละแบบฝึก ดูตัวอย่างด้านล่าง ( แบบซ้อม 3 ชม. ทุกวัน หยุดได้ 1 วัน )





ลองดูนะครับซักเดือนนึงเห็นผลแน่นอน !!!